วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

“ฝันร้าย”เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือกับฝันร้าย

“ฝันร้าย”เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือกับฝันร้าย

นิยามของฝันร้าย 
ฝันร้ายนั้นดูเหมือนจะเป็นความฝันที่เหมือนกับความจริง ที่ทำให้คุณรู้สึกกลัวและทำให้คุณตื่นจากการนอนที่หลับลึกของคุณ นอกจากนั้นมันมักจะทำให้หัวใจเต้นแรงจากความกลัว ฝันร้ายมักจะเกิดบ่อยที่สุดในช่วงการหลับที่มีการเคลื่อนไหวของลูกตาอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นช่วงที่ความฝันส่วนมากเกิดขึ้น และมีการพบว่าฝันร้ายมักเกิดบ่อยในช่วงชั่วโมงเช้ามืด 


สาเหตุของอาการฝันร้าย 
1. ยารักษาโรคบางอย่างออกฤทธิ์กับสารเคมีในสมองทำให้ฝันร้ายได้ อย่างเช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า และยาเสพติดมักมีความสัมพันธ์กับฝันร้าย ส่วนยาที่ไม่ได้รักษาโรคทางจิตประสาท เช่นยาลดความดันโลหิตบางชนิด ก็ทำให้เกิดฝันร้ายในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน 
2. การหยุดใช้ยาหรือยาเสพติด รวมไปถึงการหยุดแอลกอฮอล์ และยากล่อมประสาทพวกนี้ก็อาจจะไปกระตุ้นให้ฝันร้ายได้ หากคุณสังเกตได้ถึงความแตกต่างของความถี่ของการเกิดฝันร้ายหลังเปลี่ยนยา ให้ปรึกษาแพทย์ 
3. การนอนหลับที่ไม่เพียงพอก็อาจทำให้ฝันร้ายได้เช่นกัน แม้จะเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันอย่างแน่ชัดว่า วงจรอย่างนี้จะทำให้ฝันร้ายอย่างผิดปกติเกิดขึ้นได้หรือไม่ 
4. ความเครียด วิตกกังวลและอาการซึมเศร้า ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (Post-traumatic stress disorder-PTSD) มักเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยฝันร้ายอยู่ซ้ำซาก 
5. เกิดจากความผิดปกติในการนอนหลับ เช่น การหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ระหว่างนอนหลับและอาการขาอยู่ไม่ หากยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ การฝันร้ายเรื้อรังอาจเกิดจากความผิดปกติในการนอนหลับนี่เองแหละครับ


ฝันร้ายอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร 
ฝันร้ายนั้นมีผลต่อสุขภาพในเรื่องของผู้ที่มีปัญหานอนฝันร้ายนั้น ผู้ที่มีอาการวิตกกังวล หรือซึมเศร้า มีแนวโน้มมากที่มีความเครียดอันเกิดจากประสบการณ์และทนทุกข์กับความป่วยทางจิตมากกว่า แต่มันก็อาจจะไปสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายได้ เนื่องจากฝันร้ายอาจมีผลกระทบกับคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก จึงสำคัญที่จะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากคุณฝันร้ายอยู่เป็นประจำ 

การรักษาการฝันร้ายในเคสผู้ใหญ่ เพราะเด็กฝันร้ายนั้นเป็นเรื่องปกติ 
1. หากคุณฝันร้ายเพราะ ยาก็อาจเปลี่ยนปริมาณที่ใช้ หรือเปลี่ยนยาเพื่อกำจัดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ 
2. ฝันร้ายเพราะการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ หรืออาการขาอยู่ไม่สุข การรักษาอาการเหล่านี้อาจช่วยให้ดีขึ้นได้ 
3. หากฝันร้ายไม่เกี่ยวกับการป่วยหรือการใช้ยา อย่าเพิ่งหมดหวังครับ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลถึง 70% ของผู้ที่ฝันร้าย รวมไปถึงผู้ที่มีอาการวิตกกังวล, ซึมเศร้า และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ 
4. การฝึกจินตนาการ เป็นการบำบัดทางพฤติกรรมที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับการฝันร้าย เทคนิคก็คือ ฝึกความคิดที่อยากจะหลุดออกมาจากสิ่งนั้นในขณะที่เรายังตื่น บางครั้งอาจมีการใช้ยาเข้าร่วมเพื่อรักษาอาการฝันร้ายในลักษณะนี้ แต่ผลที่ได้ก็ยังไม่เห็นได้ชัดเท่ากับการฝึกจินตนาการ
ไม่ว่าคุณจะมีเรื่องกังวลใจ หรืออะไรก็ตามที่ทำให้คุณฝันร้ายและตื่นขึ้นมากลางดึก งานวิจัยบอกแล้วว่า มันอาจจะเป็นผลดีต่อตัวคุณเอง เพราะสิ่งที่คุณกังวลเหล่านั้นถูกสมองเปลี่ยนเป็นเรื่องราวที่จับต้องได้ และออกมาในรูปของความฝัน
และเมื่อคุณตื่นมาเพราะฝันร้ายนั้น คุณจะรู้สึกเหมือนว่ามันเป็นเรื่องจริง แม้ว่าเรื่องราวในความฝันนั้นจะไม่เหมือนจริงเลยก็ตาม ความทรงจำเหล่านั้นกลับง่ายต่อการจัดการทางจิตใจมากกว่า อย่างเช่นคุณจะสามารถรู้ได้ว่าคุณกลัวหรือกังวลเรื่องอะไรในอดีต และคุณจะสามารถหาทางจัดการรับมือกับสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร
ฉะนั้น ถ้าคุณฝันร้าย จงอย่ากลัวที่จะเข้านอน มันจะช่วยให้คุณรับรู้และสามารถจัดการกับความกลัวลึกๆนั้นได้
นอกจากนี้การไม่ยอมพักผ่อนยังส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตโดยตรงอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น