วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ผักขะแยง(ผักพื้นบ้านอีสาน)

ผักแขยง ผักขะแยง ผักกะแยง (ผักพื้นบ้านอีสาน)


วันนี้ขอแนะนำ ผักพื้นบ้านอีสาน ที่มีชื่อว่า ผักแขยง (ผักขะแยง) ซึ่งอาหารพื้นเมืองของภาคอีสานส่วนใหญ่มักปรุงรสหรือชูรสด้วยผักพื้นบ้านอีสาน ซึ่งมีกลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เรามารู้จักกันหน่อยว่า ผักแขยง (ผักขะแยง) มีลักษณะและสรรพคุณทางยาเป็นอย่างไร
 
ชื่อสามัไทย : ผักแขยง (ผักขะแยง)
ชื่ออื่นที่เรียกกัน : กะออม กะแยง (ตะวันออกเฉียงเหนือ), กะแยงแดง (อุบลราชธานี), ผักกะแยง กระแยง (อุดรธานี), ขะแยง (อุบลราชธานี,มุกดาหาร), ผักพา (ภาคเหนือ), มะอม ปะกามะออม (เขมร)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Limnophila geoffrayi Bonati
ชื่อวงศ์ : Scorphulariaceae


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นผักแขยง ผักขะแยง

ผักขะแยง ผักแขยง ผักกะแยง เป็นผักพื้นบ้านอีสาน ที่มีลักษณะคือเป็น พืชล้มลุกอายุปีเดียว เป็นผักที่ขึ้นเองตามคันนา ในฤดูทำนา เริ่มจากฝนลงครั้งแรก ขยายพันธุ์แบบไหลไปตามราก เกิดและแตกต้นออกเป็นกอ ขนาดเล็กประมาณ 30-40 ซม. ลำต้นสีเขียว กลวงเห็นปล้องชัดเจน ลำต้นทั้งต้นจะมีกลิ่นหอมหรือกลิ่นฉุนรุนแรง ใบเดี่ยว ขนาดเล็ก ออกเป็นคู่ตรงกันหรืออาจมี 3 ใบ ออกอยู่รอบ ๆ ข้อรูปใบหรือรูปขอบขนาน หรือรูปหอกใบยาว 1.5-5 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ไม่มีก้านใบฐานใบจะหุ้มลำต้นเอาไว้ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ด้านบนของใบมีต่อมเล็ก ๆ มากมาย ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบ หรือออกเป็นช่อกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวมีขน กลีบดอกสีแดง สีชมพูอ่อน หรือสีม่วง กินได้ตลอดลำต้น เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ผักขะแยงก็เริ่มโรยรา และหายลงใต้ดินในที่สุด รอวันฝน ลงอีกครั้งในพรรษาหน้า

ผักขะแยงชอบดินดำน้ำชุ่ม ดังนั้นจึงสามารถนำผักขะแยงมาปลูกได้ เนื้อที่ที่มีน้ำขังตลอดปี ผักขะแยงก็สามารถขึ้นงอกงามได้ตลอดปีเช่นกัน แต่เพราะผักขะแยง เป็นผักที่ขึ้นตามธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์ฤดูกาลทำนา ชาวบ้านหลายท้องถิ่นทางภาคอีสานไม่นิยมนำมาปลูก อยากกินก็ไปเก็บเอาจากท้องนา

แต่บางแห่งในภาคอีสานแถบลุ่มแม่น้ำโขง ก็นำมาปลูกตามริมบึง หรือแม้แต่ในกระถาง กะละมังแตกใต้ลุ่มบ้านตรงที่ล้างผัก ล้างปลา เพื่อให้ได้น้ำที่ไหลลงจากชานครัว ผักขะแยงก็จะงามสะพรั่ง บางแห่งก็มีการเก็บตามท้องไร่ท้องนามัดเป็นกำ ๆนำไปขายในตลาดในหมู่บ้าน ในอำเภอ หรือในเมือง สนนราคาก็ถูกมาก ปัจจุบันเกษตรกรนำมาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ จึงมีผักขะแยงขายตามตลาดในกรุงเทพบ้างเช่นกัน

ผักขะแยงกินได้หลายแบบแล้วแต่ท้องถิ่น อีสานตอนบนติดกับลำน้ำโขง คืออุดรธานี อุบลราชธานี หนองคาย จะมีการกินผักขะแยงสดเป็นผักจิ้ม เช่นจิ้มน้ำพริก กินกับก้อยปลา ลาบ หรือนำมาใส่ต้มหรือแกงปลา แกงหน่อไม้ ย่านาง แกงหอยขม เพราะกลิ่นจะดับคาวได้เป็นอย่างดี ส่วนอีสานตอนกลางเช่น ชัยภูมิ โคราช ขอนแก่น ไม่นิยมกินสด ๆ 

ผักพื้นบ้าน
ผักแขยง ผักขะแยง ผักกะแยง (ผักพื้นบ้านอีสาน)


สรรพคุณของผักแขยง (ผักขะแยง)

คั้นน้ำจากต้นแก้ไข้ ทั้งต้นเป็นยาขับน้ำนม ขับลม และเป็นยาระบาย
ผักขะแยงมีรสเผ็ดร้อน มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร
ผักขะแยง 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใยอาหาร 105 กรัม แคลเซียม 55 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม เหล็ก 502 มิลลิกรัม วิตามินปีหนึ่ง 0.02 มิลลิกรัม วิตามิบีสอง 0.87 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัมและวิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น